จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬาโบว์ลิ่ง


   โบว์ลิ่งเป็นกีฬาที่มีความนิยมกันอย่างกว้างขวางเป็นเวลาหลายปีแล้ว และได้รับความนิยมจากประชาชนคนไทยมาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในปัจจุบันเยาวชนไทยได้ตื่นตัวในกีฬาโบว์ลิ่งมากขึ้นดังจะเห็นได้จากได้มีสถานโบว์ลิ่งสร้างขึ้นมาใหม่หลายต่อหลายแห่ง เมื่อโบว์ลิ่งได้รับความสนใจอย่างสูงเช่นนี้ เราลองย้อนดูในอดีตเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่รวมใจและประสานใจรวมกันจัดตั้งสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย และชมรมนักกีฬาโบว์ลิ่งขึ้นได้ได้ความพยายามและความสามัคคีร่วมใจเป็นอย่างมาก เพื่อให้สมาคมโบว์ลิ่งเป็นรูปร่างขึ้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก่อนที่จะนำข้อความไปสู่ที่มาของสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย ผู้เขียนจะขอกล่าวโดยกว้างของที่มาของกีฬา โบว์ลิ่ง


&...ประวัติความเป็นมาของกีฬาโบว์ลิ่ง

           กีฬาโบว์ลิ่ง เป็นกีฬาที่ชาวโลกได้เล่นกันมาประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช กล่าวกันว่าในยุคนั้นชาวอียิปต์ได้มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง โดยใช้ไม้เป็นแกนและใช้ลูกหินกลมๆ กลิ้งไปทอยแก่นให้ล้ม
           และต้นสมัยคริสต์ศักราชในประเทศเยอรมัน ก็มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เคเกล ซึ่งหมายถึง นักโบว์ลิ่ง โดยธรรมดานักบวชในเยอรมันถือว่า กีฬาเคเกลนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในศาสนา  
           ต่อมาในสมัยคริสต์ศักราชที่ 15 Martin Luther ผู้ตั้งนิกายโปรแตสแตนด์เป็นนักเล่นเคเกลคนสำคัญคนหนึ่งได้ว่างกฎเกณฑ์การเล่นเคเกล โดยมีกำหนดให้มี 1 พิน ทำให้เคเกลได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปและชาวอังกฤษได้นำไปดัดแปลงเล่นบทสนามหญิงเรียกว่าโบว์ลิ่งสนามและเมื่อชาวดัทซ์อพยพไปอยู่ในอเมริกาก็ได้นำเอากีฬาเคเกลนี้เข้าไปเล่นด้วย
            ในปี พ.ศ. 2166 ได้มีการสร้างสถานโบว์ลิ่งขึ้นเป็นครั้งแรกนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากกีฬากลางแจ้งมาเป็นกีฬาในร่ม และเพิ่มพินขึ้นอีกรวมเป็น 10 พิน เรียกว่า โบว์ลิ่ง
  
สหพันธ์โบว์ลิ่งระหว่างประเทศ แผนกสิบพิน
Federation Internationale Des Quilteurs Tenpin Division


           สหพันธ์โบว์ลิ่งระหว่างประเทศ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2549) เพื่อส่งเสริมผู้มีใจรักกีฬาในการเล่นโบว์ลิ่ง ทั้งแบบสิบพินและเก้าพินให้มีขยายไปทั่วโลก เพื่อส่งเสริมมิตรภาพระหว่างชาติในรูปแบบของการแข่งขันระดับโลก และเฉพะภาค (โซน) และการแข่งขันโบว์ลิ่งระหว่างนักกีฬาโบว์ลิ่งจากประเทศต่างๆ
 กติกาการเล่นและรายการจำเพาะดังต่อไปนี้ เป็นที่ยอมรับของฝ่ายการเล่นโบว์ลิ่งแบบสิบพิน เพื่อใช้ในการแข่งขันต่างๆ และเพื่อให้ถือเป็นแนวทางไปสู่การเล่นที่เป็นไปในแบบเดียวกันหมด
           หมายเหตุ สมาคม เอฟ.ไอ.คิว. เสนอให้องค์การสมาคมหนึ่งแห่งในประเทศหนึ่งๆ เป็นสมาชิกฝ่ายการเล่นโบว์ลิ่งแบบสิบพินของสมาคม ฉะนั้นในการอ้างถึง สมาชิกแห่งชาติ  หรือผู้แทนของประเทศหนึ่งในกติกานี้ให้หมายถึงสหพันธ์ที่เป็นสมาชิกในแต่ละประเทศ (ในที่ใดที่ใช้คำที่เป็นเพศชาย ให้มีความหมายคลุมถึงที่เป็นเพศหญิงด้วย และในทางกลับกัน)  กีฬาโบว์ลิ่ง เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 แต่กีฬาโบว์ลิ่งเพิ่มได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเมื่อปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา
           สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งโดยนักโบว์ลิ่งกลุ่มหนึ่ง และได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นสมาคมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2515  และได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์โบว์ลิ่งนานาชาติ เมื่อวันที่  11 มกราคม พ.ศ. 2516 ปัจจุบันมีสโมสรสมาชิกรวมทั้งสิ้น 34 สโมสร
           กติกาและกฎเหล่านี้ให้ใช้บังคับในการแข่งขันระดับโลก และการแข่งขันเฉพาะโซนที่จัดขึ้นโดยสมาชิกกีฬาโบว์ลิ่งแบบสิบพินของสหพันธ์ เอฟ.ไอ.คิว. และใช้บังคับในการแข่งขันระหว่างชาติต่างๆ เป็นสมาชิกของสหพันธ์ที่ได้อนุมัติการแข่งขันแบบสินพิน
            1. การแข่งขันโบว์ลิ่งแบบสิบพินที่จัดขึ้นเป็นทางการทั้งหมด ให้ดำเนินการแข่งขันกันบนเลนที่มีอุปกรณ์พร้อม โดยมีการวัดและกรวดน้ำหนักให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ และภายใต้กฎกติกาคำแนะนำโดยเฉพาะอย่างเคร่งครัด
            2. เลนที่ใช้ในการแข่งขันตามที่ได้รับอนุมติจะต้องได้รับการรับรอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ประจำประเทศนั้น สำหรับเลนใหม่ก่อนที่จะใช้ทำการแข่งขัน จะต้องได้รับการตรวจสอบเสียก่อน ให้สมาชิกของสหพันธ์หรือของสมาคมแต่ละแห่ง เสนอชื่อบุคคลขึ้นมาหนึ่งหรือหลายคน ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการแข่งขันที่ได้รับอนุมัติแล้วในประเทศนั้น ให้เป็นไปตามกติกาและข้อกำหนดเหล่านี้

พิน
           สูง 15 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐานกว้าง 2¼ นิ้ว และส่วนที่กว้างที่สุดไม่เกิน 4/4 นิ้ว ทำด้วยไม้เมเปิ้ล และอาบด้วยพลาสติก ฐานทำด้วยพลาสติก นำหนักระหว่าง 3 ปอนด์  2 ออนซ์ - 3 ปอนด์10 ออนซ์

ลูกบอล
           หลังจากเจาะแล้ว ลูกจะต้องหนังไม่เกิน 16 ปอนด์ และไม่ต่ำกว่า 8 ปอนด์ เส้นรอบวงอยู่ระหว่าง 26.704  27.002 นิ้ว และเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 8.500  8.595 นิ้ว

เลน
            กว้าง 41  42 นิ้ว
            ความยาว จากเส้นฟาวล์ถึงพิน 1 ยาว 60 ฟุต
            จากพิน 1 ถึงพินแถวสุดท้ายยาว 3 ฟุต
           จากของเส้นแอฟโพรชถึงเส้นฟาวล์ 16 ฟุต


ที่มาของการจัดตั้งสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย

เพื่อให้ข้อความบางข้อความที่พาดพิงถึงความเป็นมาของสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย ผู้เรียบเรียงมีความจำเป็นต้องใช้คำพูดหรือคำกล่าวหรือข้อความของบางท่านเพื่ออ้างอิง จึงขออนุญาตและขอขอบคุณในข้อความดังกล่าวมา ณ ที่นี้
            ก่อนจะมาเป็นสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย และได้รับใบอนุญาตสมาคม กลุ่มนักโบว์ลิ่งกลุ่มหนึ่งร่วมกันจัดทำกิจกรรมของสมาคมโบว์ลิ่งไทย
            เมื่อปี 2511 นายมานะ แพร่พันธุ์  ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย และในขณะนี้ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บ้านเมือง รายวันกระโดดเข้ามาเล่นโบว์ลิ่งและเห็นว่าการเล่นโบว์ลิ่งเป็นแต่เพียงเล่นเท่านั้นก็จะหาความเจริญต่อไปไม่ได้ และโดยเฉพาะนักโบว์ลิ่งก็จะไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย เพียงแต่โยนๆ กันเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น ความก้าวหน้าก็จะหายาก เพราะหาสมาคมมาบังคับหรือส่งเสริมนักโบว์ลิ่งให้เจริญต่อไปยาก เพราะว่าแต่ละคนก็เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นใหญ่
           ดังนั้นในวันที่ 30 กันยายน 2511 นายมานะ แพร่พันธุ์ ก็เชิญผู้บริหารโบว์ลิ่งร่วมประชุมกันที่ภัตตาคารโกยง สี่แยกบางขุนพรหม เพื่อก่อตั้งสโมสรโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก อันความหวังขั้นต่อไปจะต้องเป็นสมาคมพลังความหวังและความสามัคคี ก็ปรากฏตัวผู้บริหารตลอดจนตำแหน่งรับใช้วงการโบว์ลิ่ง ผู้บริหารชุดแรกนั้นก็มี นายมานะ แพร่พันธุ์  เป็นนายกสโมสร นายบุญเย็น จีระพันธุ์  เป็นอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ  นายประเสริฐ ลีลานภาภัทร เป็นอุปนายกฝ่ายในประเทศนายจีระ บูรณานนท์ เป็นเลขาธิการ นายประสาท อยู่ประเสริฐ เป็นเหรัญญิก นายชูเกียรติ ศิริวงศ์ เป็นปฏิคม นายฉลาด จินตณรงค์ นายเดวิด ตันติประสุต นายไพรัช ลีนะวัต นายสงวน ยศธนายนต์ นายประเทิศชัย อัศวโสภณ นายวิโรจน์ บุญยรัตนพันธ์ นายปราการ แสงอุไร และนายโองการ ศรีชวาลาเป็นกรรมการ
            จากนั้นมา คณะกรรมการ ผู้บริหารก็ได้พยายามที่จะทำสโมสรให้เป็นสมาคมจนได้และความหวังต่างๆ ก็กลายเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว และในวันที่ 24 กันยายน 2515 เราก็ได้สมาคมโดยสมบูรณ์แบบและมีสถานที่จะทำงานกันได้อย่างเต็มความสามารถ


กลุ่มนักโบว์ลิ่งที่ได้ยื่นรายนามของใบอนุญาตสมาคมนั้นมี
นายมานะ
แพร่พันธ์
นายกสมาคมโบว์ลิ่งไทย
นายประเสริฐ
ลีลานภาภัทร
อุปนายกฝ่ายภายในประเทศ
นายบุญเย็น
จีระพันธ์
อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ
นายจีระ
บูรณะนนท์
เลขาธิการ
นายประสาท
อยู่ประเสริฐ
เหรัญญิก
นายชูเกียรติ
ศิริวงศ์
ปฏิคม

และคณะกรรมการอีก 8 ท่าน คือ
นายจำเริญ
ศรีสโมสร

นายเดวิด
ตันติประสุต

นายวิโรจน์
บุญยรัตพันธุ์

นายวิจารณ์
ภุกพิบูลย์

นายปราการ
แสงอุไร

นายไพรัช (อู๊ด)
ลีนะวัต

นายสงวน
ยศธนายนต์

นายฉลาด
จิตต์ณรงค์

นายเมศร
แมนสรวง

นายเกษม
บุรกรรมโกวิท

นายน้อย
ฤทธิ์นุ่ม

นายปุ๊
นาคีสถิตย์


 ผู้ควบคุมทีมไทยได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ บานเย็น ทวิพันน์ ได้ดูแลเอาใจใส่นักกีฬาทีมชาติเป็นอย่างดีเยี่ยม
ประเภทหญิง


น.ส.พรทิพย์ (น้อย)
พิริยายน

น.ส.อ้อย
ศรีสอาด

น.ส.สุกัญญา
เลิศกิจ

น.ส.รัญจวน
คัมภีระสูตร


            ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมหญิงของไทยสามารถทำชื่อเสียงในการแข่งขันครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดย น.ส.พรทิพย์ (น้อย) พิริยายน ชนะเลิศได้เป็นแชมป์เอเชียหญิง และได้รับเชิญไปร่วมการแข่งขันป้องกันในครั้งต่อไป ที่จัดให้มีขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์



 สถานโบว์ลิ่งที่ได้ร่วมจัดการแข่งขันในครั้งนี้ คือ
บางกอกโบว์ล
สุขุมวิทโบว์ล
สตาร์โบว์ล
เพลินจิตต์โบว์ล
สยามโบว์ล
คราวน์โบว์ล
ดุสิตโบว์ล
อโศกโบว์ล
35 โบว์ล

 ประเทศที่ส่งนักโบว์ลิ่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่
ประเทศจีนคณะชาติ
ประเทศมาเลเซีย

ประเทศสิงคโปร์
ประเทศลาว

ประเทศญี่ปุ่น
นักโบว์ลิ่งจากกวม

ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศฟิลิปปินส์

และประเทศเจ้าภาพได้แก่ ประเทศไทย


 พ.ศ. 2514 สมาคมได้ร่วมมือกับสถานโบว์ลิ่ง 7 แห่ง คือ
บางกอกโบว์ล
สตาร์โบว์ล
สุขุมวิทโบว์ล
คราวน์โบว์ล
เพลินจิตต์โบว์ล
ดุสิตโบว์ล
และ 35 โบว์ล



            จัดการแข่งขันโบว์ลิ่งชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 6 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า1st F.I.Q. Invitational Bowling Tournament  ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาโบว์ลิ่งชายหญิง และผู้ควบคุมทีมไปร่วมการแข่งขันด้วยคือ

นายชูฤทธิ์
เปรมใจ
ผู้ควบคุมทีม
นายจำเริญ
ศรีสโมสร
ผู้ควบคุมทีม



นักโบว์ลิ่งชาย

นักโบว์ลิ่งหญิง
นายสำราญ
บานเย็น
น.ส.อ้อย
ศรีสอาด
นายเกษม
มินาลัย
น.ส.พรทิพย์ (น้อย)
พิริยายน
นายเมศร
แมนสรวง
นางมาริสา
ตันติประสุต
นายนิพนธ์
โตเต็มวงศ์
น.ส.สมพร
เสาร์แก้ว
นายสันทัด
ทรัพย์เย็น


นายสมชาย
เตียไม้ไทย



           ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมคะแนนรวมประเทศไทยได้อันดับที่ 3 ส่วนประเภทบุคคลได้แก่ทีมประเภทหญิงคู่ ประเทศไทยชนะอันดับที่ 2 และ 3 ประเภทมาสเตอร์ชาย นายสมชาย เตียไม้ไทยได้ชนะเลิศอันดับที่ 2 และฝ่ายหญิง ได้แก่ น.ส.อ้อย ศรีสะอาด ได้ชนะเลิศอันดับ 3 นับว่าไม่เสียเที่ยวที่สมาคมส่งไปครั้งนี้
พ.ศ. 2515 สมาคมยังได้รับความร่วมมือจากสถานโบว์ลิ่ง 10 แห่ง คือ
บางกอกโบว์ล
สุขุมวิทโบว์ล
สตาร์โบว์ล
สยามโบว์ล
คราวน์โบว์ล
อโศกโบว์ล
เบลแอร์โบว์ล
35 โบว์ล
และ เพลินจิตต์โบว์ล
           จัดการแข่งขันโบว์ลิ่งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทชายและหญิงขึ้นโดยเรียนกว่าเป็นการแข่งขันท้าชิงและป้องกันตำแหน่งแชมป์ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ที่ส่งเสริมกีฬาโบว์ลิ่งคัดเลือกนักโบว์ลิ่งชายหญิงที่มีฝีมือเป็นนักโบว์ลิ่งทีมชาติไทย และให้นักโบว์ลิ่งทีมชาติได้มีโอกาสฝึกซ้อม มีประสบการณ์ต่างๆ เพื่อจะได้ทัดเทียมกับนักโบว์ลิ่งชาติอื่นๆ วิธีการจัดนั้นก็คล้ายๆ กับกีฬาชกมวย คือ ให้มีการป้องกันตำแหน่งโดยกำหนดให้มีการแข่งขันหมุนเวียนไปตามสถานโบว์ลิ่งทั้ง 10 แห่ง และปัจจุบันทำการแข่งขันไปแล้ว 8 ครั้ง คงเหลืออีกเพียง 2 ครั้ง
           ใน พ.ศ. 2515 นี้ สมาคมได้รับความร่วมมือจากสถานโบว์ลิ่งทั้ง 10 แห่งดังกล่าว ร่วมจัดการแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาโบว์ลิ่งชายหญิงไปร่วมการแข่งขันโบว์ลิ่งเวิร์ดคัพ ประจำปี 2515 ที่เมืองแฮมเบิกร์ ประเทศเยอรมันตะวันตก ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ซึ่งทาง เอ.เอม.เอฟ. เป็นผู้จัดให้มีการแข่งขันเป็นประจำทุกปี สำหรับปีนี้ได้เพิ่มการแข่งขันประเภทหญิงขึ้นอีก และประเทศไทยก็ได้รับเกียรติให้ส่งนักโบว์ลิ่งหญิงเข้าร่วมแข่งขันด้วยประเทศหนึ่งในจำนวน 16 ประเทศที่ได้รับเชิญ และหวังว่านักโบว์ลิ่งที่ส่งไปครั้งนี้ คงจะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย ดังเช่นที่เคยมีมาแล้ว ในการแข่งขันโบว์ลิ่งเวิร์ดคัพที่ญี่ปุ่นปี 2513 นายไพรัช (อู๊ด) ลีนะวัต ชนะมาในอันดับที่ 2 และที่ประเทศเดนมาร์ค ชนะมาในอันดับที่ 6 28 มิถุนายน 2515 สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยได้รับใบอนุญาตทะเบียนสมาคมเป็นที่เรียบร้อย ประกอบกับมีอุปกรณ์สำนักงานอย่างครบครัน ก็ด้วยไมตรีจิตอันดีของเจ้าของและผู้อำนวยการสถานโบว์ลิ่งทั้ง 10 แห่งช่วยร่วมกันออกค่าใช้จ่ายคิดตามจำนวนเลนๆ ละ 200 บาท และจากการสมัครเข้าเป็นสมาคมของสมาคมฯ ซึ่งขณะนี้สมาคมได้มีสมาชิกสามัญและตลอดชีพรวม 183 คน ซึ่งนับว่า นักโบว์ลิ่งเริ่มจะมีศรัทธาในสมาคมฯ มากขึ้นเป็นลำดับ

กิจกรรมของสมาคมโบว์ลิ่งไทยที่ผ่านมา

            พ.ศ. 2511 สมาคมโบว์ลิ่งไทย ได้ร่วมกับสถานโบว์ลิ่งคัดเลือกนักกีฬาโบว์ลิ่งไปร่วมการแข่งขันโบว์ลิ่งชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 3 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมไทยชนะเลิศประเภททีม ส่วนบุคคลชนะเลิศประเภทคู่และประเภทรวมทุกประเภทด้วย

นายเดวิด
ตันติประสุต
หัวหน้าทีมและผู้ควบคุมทีม
นายเครื่อง
สุทธิดี

นายณรงค์
พงษ์วชิรินทร์

นายอรุณ
บุญศรี

นายไพรัช (อู๊ด)
ลีนะวัต


            ในการแข่งขันครั้งนี้ นักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติที่ได้คัดเลือกเอานักกีฬาโบว์ลิ่งที่เป็นนักศึกษาอยู่ในประเทศฟิลิปิน์ในขณะนั้นได้แก่ นายสุวรรณ แทนสถิต และยังมีนักศึกษาอีกท่านหนึ่งเข้าร่วมเป็นทีมชาติด้วยอีกท่านหนึ่ง

            พ.ศ. 2512 สมาคมยังได้รับความร่วมมือจากสถานโบว์ลิ่งทุกแห่งที่มีอยู่ในขณะนั้นจัดการแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาโบว์ลิ่งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีขึ้น การแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศลที่สมาคมจัดขึ้นคือ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2512 ณ เฟรนชิพโบว์ลโคราช เพื่อนำเงินรายได้ช่วยเหลือสวัสดิการตำรวจภูธรเขต 3 และสโมสรลูกเสือ จังหวัดนครราชสีมา และอีก 25% ของเงินรายได้ ครั้งนั้นได้นำไปเป็นทุนสำหรับดำเนินกิจการสมาคมโบว์ลิ่งไทย
            เงินทุกบาทที่ได้จากค่าสมัครครั้งละ 3 เกม 50 บาท (ห้าสิบบาท) ที่ทำการหมุนเวียนไปตามสถานโบว์ลิ่งคือ
            เกสรโบว์ล ดุสิตโบว์ล คราวน์โบว์ล เบลแอร์โบว์ล เพลินจิตต์โบว์ล สยามโบว์ล สตาร์โบว์ล 35 โบว์ล อโศกโบว์ล
            สถานโบว์ลิ่งดังกล่าวได้ยกเข้าร่วมในรายการกุศลครั้งนั้นทั้งหมด ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากผู้อุปถัมภ์ที่ส่งเข้าแข่งขัน และนักโบว์ลิ่งที่เข้าร่วมแข่งขันจนได้เงินบำรุงการกุศลตามที่ต้องการ และสำเร็จสมดังที่ได้มุ่งหมายไว้ด้วยดีโดยมีชื่อการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศลว่า “ห้วยยาง         โบว์ลบอลล์)”

            พ.ศ. 2512 สมาคมฯ ยังได้จัดการเลือกนักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติไทยไปร่วมการแข่งขันโบว์ลิ่งชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 4 ที่ฮ่องกง ด้วยความร่วมมือจากสถานโบว์ลิ่งต่างๆ ดังนี้คือ

สยามโบว์ล
เพลินจิตต์โบว์ล
อโศกโบว์ล
คราวน์โบว์ล
ดุสิตโบว์ล
35 โบว์ล
สตาร์โบว์ล
เบลแอร์โบว์ล
เกษรโบว์ล

            นักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติชายและหญิงที่ไปร่วมการแข่งขันได้แก่
นายไพรัช (อู๊ด)
ลีนะวัติ

นายชูฤทธิ์
เปรมใจ

นายพริ้ม
มั่นกลาง

นายเส็ง
แดงสกุล

นายสำลี (เปี๊ยก)
พลสยม

นายสุชาติ
โภคศิริ

น.ส.อ้อย
ศรีสอาด

น.ส.พรทิพย์ (น้อย)
พิริยายน

น.ส.ดารณี
อนุรักษ์


            ในปีนี้ เป็นปีแรกที่การแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยได้เพิ่มประเภทของการแข่งขันอีกประเภทหนึ่ง คือ ทีมคู่ผสม ได้แก่ ชาย 1 กับหญิง 1 ทีม ไทยได้ชนะเลิศในประเภทนี้ในอันดับที่ 2 ส่วนประเภทอื่นนั้นไม่สู้ดีนัก
            พ.ศ. 2513 สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโบว์ลิ่ง ชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 5 ขึ้นในเดือนธันวาคม 2513 และได้พิจารณากำหนดเลือกเอาบางกอกโบว์ลเป็นสถานที่แข่งขันครั้งนี้ พล.ท.บุญชัย บำรุงพงศ์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีแข่งขัน และนาย ชูฤทธิ์ เปรมใจ ผู้จัดการเพลินจิตต์โบว์ลได้รับเลือกเป็นประธานจัดการแข่งขันในครั้งนี้ การแข่งขันครั้งที่ 5 ที่จัดให้มีขึ้นในประเทศไยนับว่าได้รับความสำเร็จเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ทั้งนี้เนื่องจากได้รับความร่วมมือร่วมใจจากสถานโบว์ลิ่งต่างๆ นักโบว์ลิ่ง สื่อมวลชน และคณะกรรมการจัดการแข่งขันทุกๆ ท่าน ทีมไทยที่เข้าร่วมในครั้งนี้ ประเภทชาย

นายเดวิด
ตันติประสุต
หัวหน้าทีม
นายพิทยา
ณ นคร

นายเมศร
แมนสรวง

นายเกษม
บุรกรรมโกวิท

นายน้อย
ฤทธิ์นุ่ม

นายปุ๊
นาคีสถิตย์


            ผู้ควบคุมทีมไทย ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ บานเย็น ทวีพัฒน์ ได้ดูแลเอาใจใส่นักกีฬาทีมชาติเป็นอย่างดีเยี่ยม
            ประเภทหญิง
น.ส.พรทิพย์ (น้อย)
พิริยายน

น.ส.อ้อย
ศรีสอาด

น.ส.สุกัญญา
เลิศกิจ

น.ส.รัญจวน
คัมภีระสูตร


            ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมหญิงของไทยสามารถทำชื่อเสียงในการแข่งขันครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดย น.ส.พรทิพย์ (น้อย) พิริยายน ชนะเลิศได้เป็นแชมป์เอเชียหญิง และได้รับเชิญไปร่วมการแข่งขันป้องกันในครั้งต่อไปที่จะจัดให้มีขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์

            สถานโบว์ลิ่งที่ได้ร่วมจัดการแข่งขันในครั้งนี้ คือ
บางกอกโบว์ล
สุขุมวิทโบว์ล
สตาร์โบว์ล
เพลินจิตต์โบว์ล
สยามโบว์ล
คราวน์โบว์ล
ดุสิตโบว์ล
อโศกโบว์ล
35 โบว์ล

            ประเทศที่ส่งนักโบว์ลิ่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่
ประเทศจีนคณะชาติ
ประเทศมาเลเซีย

ประเทศสิงคโปร์
ประเทศลาว

ประเทศญี่ปุ่น
นักโบว์ลิ่งจากกวม

ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศฟิลิปปินส์

และประเทศเจ้าภาพได้แก่ ประเทศไทย


            พ.ศ. 2514 สมาคมได้ร่วมมือกับสถานโบว์ลิ่ง 7 แห่ง คือ
บางกอกโบว์ล
สตาร์โบว์ล
สุขุมวิทโบว์ล
คราวน์โบว์ล
เพลินจิตต์โบว์ล
ดุสิตโบว์ล
และ 35 โบว์ล



            จัดการแข่งขันโบว์ลิ่งชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 6 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า 1st F.I.Q. Invitational Bowling Tournament ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาโบว์ลิ่งชายหญิง และ           ผู้ควบคุมทีมไปร่วมการแข่งขันด้วยคือ

นายชูฤทธิ์
เปรมใจ
ผู้ควบคุมทีม
นายจำเริญ
ศรีสโมสร
ผู้ควบคุมทีม



นักโบว์ลิ่งชาย

นักโบว์ลิ่งหญิง
นายสำราญ
บานเย็น
น.ส.อ้อย
ศรีสอาด
นายเกษม
มินาลัย
น.ส.พรทิพย์ (น้อย)
พิริยายน
นายเมศร
แมนสรวง
นางมาริสา
ตันติประสุต
นายนิพนธ์
โตเต็มวงศ์
น.ส.สมพร
เสาร์แก้ว
นายสันทัด
ทรัพย์เย็น


นายสมชาย
เตียไม้ไทย



ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมคะแนนรวมประเทศไทยได้อันดับที่ 3 ส่วนประเภทบุคคลได้แก่ ทีมประเภทหญิงคู่ ประเทศไทยชนะอันดับที่ 2 และ 3 ประเภทมาสเตอร์ชาย นายสมชาย เตียไม้ไทย ได้ชนะเลิศอันดับที่ 2 และฝ่ายหญิง ได้แก่ น.ส.อ้อย ศรีสะอาด ได้ชนะเลิศอันดับ 3 นับว่าไม่เสียเที่ยวที่สมาคมส่งไปครั้งนี้

.ศ. 2515 สมาคมยังได้รับความร่วมมือจากสถานโบว์ลิ่ง 10 แห่ง คือ
บางกอกโบว์ล
สุขุมวิทโบว์ล
สตาร์โบว์ล
สยามโบว์ล
คราวน์โบว์ล
อโศกโบว์ล
เบลแอร์โบว์ล
35 โบว์ล
และ เพลินจิตต์โบว์ล

            จัดการแข่งขันโบว์ลิ่งชิงแชมป์ประเทศไทย ประเภทชายและหญิงขึ้นโดยเรียนกว่าเป็นการแข่งขันท้าชิงและป้องกันตำแหน่งแชมป์ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ที่ส่งเสริมกีฬาโบว์ลิ่งคัดเลือกนักโบว์ลิ่งชายหญิงที่มีฝีมือเป็นนักโบว์ลิ่งทีมชาติไทย และให้นักโบว์ลิ่งทีมชาติได้มีโอกาสฝึกซ้อม มีประสบการณ์ต่างๆ เพื่อจะได้ทัดเทียมกับนักโบว์ลิ่งชาติอื่นๆ วิธีการจัดนั้นก็คล้ายๆ กับกีฬาชกมวย คือ ให้มีการป้องกันตำแหน่งโดยกำหนดให้มีการแข่งขันหมุนเวียนไปตามสถานโบว์ลิ่งทั้ง 10 แห่ง และปัจจุบันทำการแข่งขันไปแล้ว 8 ครั้ง คงเหลืออีกเพียง 2 ครั้ง
            ใน พ.ศ. 2515 นี้ สมาคมได้รับความร่วมมือจากสถานโบว์ลิ่งทั้ง 10 แห่งดังกล่าว ร่วมจัดการแข่งขันคัดเลือกนักกีฬาโบว์ลิ่งชายหญิงไปร่วมการแข่งขันโบว์ลิ่งเวิร์ดคัพ ประจำปี 2515 ที่เมืองแฮมเบิกร์ ประเทศเยอรมันตะวันตก ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ซึ่งทาง เอ.เอม.เอฟ. เป็นผู้จัดให้มีการแข่งขันเป็นประจำทุกปี   สำหรับปีนี้ได้เพิ่มการแข่งขันประเภทหญิงขึ้นอีก   และประเทศไทยก็ได้รับเกียรติให้ส่งนักโบว์ลิ่งหญิงเข้าร่วมแข่งขันด้วยประเทศหนึ่งในจำนวน 16 ประเทศที่ได้รับเชิญ และหวังว่านักโบว์ลิ่งที่ส่งไปครั้งนี้ คงจะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย ดังเช่นที่เคยมีมาแล้ว ในการแข่งขันโบว์ลิ่งเวิร์ดคัพที่ญี่ปุ่นปี 2513 นายไพรัช (อู๊ด) ลีนะวัต ชนะมาในอันดับที่ 2 และที่ประเทศเดนมาร์ค ชนะมาในอันดับที่ 6 28 มิถุนายน 2515 สมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทยได้รับใบอนุญาตทะเบียนสมาคมเป็นที่เรียบร้อย ประกอบกับมีอุปกรณ์สำนักงานอย่างครบครัน ก็ด้วยไมตรีจิตอันดีของเจ้าของและผู้อำนวยการสถานโบว์ลิ่งทั้ง 10 แห่งช่วยร่วมกันออกค่าใช้จ่ายคิดตามจำนวนเลนๆ ละ 200 บาท และจากการสมัครเข้าเป็นสมาคมของสมาคมฯ ซึ่งขณะนี้สมาคมได้มีสมาชิกสามัญและตลอดชีพรวม 183 คน ซึ่งนับว่า นักโบว์ลิ่งเริ่มจะมีศรัทธาในสมาคมฯ มากขึ้นเป็นลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น