จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬาแบดมินตัน


ประวัติดั่งเดิมตอนต้น
ประวัติของกีฬาแบดมินตันมีต้นกำเนิดที่ไม่
ชัดเจน ไม่มีหลักฐานแน่ชัดถึงต้นตอแหล่งกำเนิดของ กีฬาประเภทนี้ มีแต่หลักฐานบางชิ้นชี้บ่งให้ทราบว่า กีฬาแบดมินตันมีเล่นกันประปรายในยุโรปตอน ปลายศตวรรษที่ 17 จากภาพสีน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่า กีฬาแบดมินตันเล่นกันแพร่หลายในราชสำนัก
ต่าง ๆ ของยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นๆ ก็ตาม
จากหลักฐานของภาพวาดเก่า ๆ ปรากฏว่ามีการเล่นเกมในลักษณะที่คล้ายกับลูกขนไก่ในประ เทศจีนช่วงศตวรรษที่ 7 ชาวจีนนำอีแปะที่มีรู แล้วใช้ขนไก่หลายเส้นเสียบผ่านรูอีแปะสองสามอัน ให้อีแปะเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก ใช้เชือกมัดตรงปลายเอาไว้ไม่ให้หลุด เวลาเล่นจะตั้งวง เล่นกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือจะเล่นพร้อมกัน 3-4 คน ใช้เท้าเตะกันไปมาทำนองเดียวกับที่คนไทยเล่นตะกร้อล้อมวง
ในศตวรรษที่ 13 ปรากฏหลักฐานว่า ชาวอินเดียนแดงในทวีปอรือขนนก เสียบมัดติดกับก้อนกลม ให้ปลายหางของขนไก่ชี้ไปในทางเดียวกันเป็นพู่กระจายออกด้านหลัง เวลาเล่นใช้มือจับก้อนกลมแล้วปาไปยังผู้เล่นอื่น ๆ ให้ช่วยกันจับ ตลอดช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ยังไม่มีการใช้แร็กเกต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตีปะทะลูกขนไก่ แต่ใช้มือ หรืออวัยวะอื่น ๆ แทน
จนกระทั่งในศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่
เมริกาตอนใต้ ใช้หญ้าฟางพันขมวดเข้าด้วยกันจนเป็นก้อนกลม แล้วใช้ขนไก่ หหรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ แล้วใช้ไม้แป้นที่ทำจากไม้กระดาน สลักด้วยลวดลายหรือรูปภาพ หวดเจ้าลูกขนไก่ไปมา นับว่าเป็นวิวัฒนาการในรูปลักษณ์ของการเล่นแบดมินตันที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่แทนการใช้อวัยวะของร่างกาย
ในศตวรรษที่ 17 พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงแบดมินตันเป็นประจำ โดยมีไม้แร็กเกตที่จำลองมาจากแร็กเกตเทนนิส เริ่มมีลูกขนไก่ที่ใช้ขนไก่หรือขนนกผูกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อก และปรากฏมีภาพวาดแสดงให้เห็นมกุฏราชกุมารเจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเดนมาร์คในศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน ทรงแบดมินตันด้วยแร็กเกต แต่ในยุคนั้นเรียกเกมเล่นนี้ว่าแบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่ และเกมเล่นในลักษณะเดียวกัน มีการเล่นในราชสำนักของเยอรมนีสมัยศตวรรษที่ 18 กษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอ ริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริค วิลเลียมที่สอง ได้ทรงแบดมินตันอย่างสม่ำเสมอ
ประวัติของกีฬาแบดมินตันมาบันทึกกันแน่นอนและชัดเจนในปี ค.ศ. 1870 ปรากฏว่ามีเกมการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนาในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ห่างจากใต้เมืองบอมเบย์ประมาณ 50 ไมล์ ต่อมามีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่นั่น นำเกมการตีลูกขนไก่กลับไปเล่น
ในเกาะอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์ “แบดมินตัน” ของดยุ๊คแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบล กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นมา
การแพร่หลายของกีฬาแบดมินตันและการก่อตั้งสหพันธ์ฯ
กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมกีฬาที่มีส่วนคล้ายคลึงกับเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกหรือตามห้องโถงใหญ่ ๆ โดยไม่ทำให้ข้าวของแตกเสียหาย และไม่ต้องกังวลต่อกระแสลมหรือพายุหิมะที่โปรยกระหน่ำมาในช่วงฤดูหนาว ชาติมหาอำนาจจักรวรรดิ์นิยมทั้งอังกฤษและดัทช์ที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ต่างนำเอากีฬาแบดมินตันไปเล่นในประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อาณานิคมอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงถูกกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลกในช่วงเวลานั้น รวมทั้งประเทศไทยด้วย
มีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออล-อิงแลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 แต่บรรยากาศของการแข่งขันออล-อิงลแนด์ในยุคต้น ๆ 

 ประวัติกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย
กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว มีปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2456พระยานิพัตกุลพงษ์ เป็นคนไทยรุ่นแรกที่สร้างสนามแบดมินตันให้ลูกหลานเล่นเป็นการออกกำลังในยามว่าง ณ บริเวณบ้านริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา
ในเวลาต่อมา หลวงชลาไลยกล เห็นว่าแบดมินตันเป็นกีฬาที่ดี เหมาะกับคนไทย เล่นได้ทั้งชายและหญิง เด็กเล็กและผู้ใหญ่ จึงสร้างสนามเพิ่มขึ้นอีก และเล่นแบดมินตันกันเป็นประจำในหมู่ญาติมิตรที่ตำบลสมเด็จเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานว่า กีฬาแบดมินตันเป็นที่นิยมเล่นกันประปรายในราชสำนักของไทยสมัย พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และสนามแบดมินตันในสมัยนั้นเป็นสนามกลางแจ้ง เวลามีลมพัดแรง หรือฝนตกก็เล่นแบดมินตันกันไม่ได้
กีฬาแบดมินตันแพร่หลายในหมู่คนไทยมากขึ้น คุณหลวงประคุณวิชาสนอง ได้จัดให้มีการแข่งขันแบดมินตันในราชวิทยาลัย แข่งขันในประเภทต่าง ๆ ต่อมาการแข่งขันได้แพร่หลายกว้างขวางออกไปอีก มีการแข่งขันประเภทสาม แข่งขันทั้งชายเภทชายสามและหญิงสาม ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันประเภทที่สำคัญที่สุด และประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการเล่นแบดมินตันประเภทสาม
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือสหพันธ์รัฐมลายู สามารถเอาชนะทีมชาติของยุโรป จนได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนประเภททีมชายของโลก หรือโธมัสคัพ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ประชาชาติเอเชียอย่างยิ่ง ที่ทีมจากเอเชียสามารถแข่งกีฬาจนเอาชนะชาติใหญ่ ๆ จากชาติตะวันตกได้ ท่ามกลางกระแสดังกล่าว ไทยได้เชิญนักแบดมินตันอันดับโลกของมลายู อาทิ ว่องเปงสูน อองโปหลิม อุยเต็คฮ็อค อิสเมล บิน มาร์จัน ฯลฯ เข้ามาสาธิตการเล่นกีฬาแบดมินตันมาตรฐานสากลในประเทศไทย เริ่มมีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานในร่ม มีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการเล่นแบดมินตันให้ดียิ่งขึ้น แต่การเล่นแบดมินตันของคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังเล่นกันนอกร่ม ต่อมาได้มีการสร้างสนามแบดมินตันมาตรฐานสากลแห่งแรกภายในบริเวณบ้านซอยพร้อมมิตรของ หลวงธรรมนูญวุฒิกร และ นางอวยพร ปัตตพงศ์ พร้อมทั้งได้เคี่ยวเข็ญฝึกฝนลูกหลานจนกระทั่งนักแบดมินตันไทยมีมาตรฐานการเล่นก้าวเข้าสู่ระดับโลก ลูกศิษย์แบดมินตันของ คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร มีพื้นฐานการเล่นที่ถูกต้องแน่นแฟ้น และนำพาทีมชาติแบดมินตันโธมัสคัพไทยไปครองตำแหน่งชนะเลิศแห่งเอเชียใน ปี ค.ศ. 1957 เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ Inter Zone ของโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กีฬาแบดมินตันของไทยใรนปี ค.ศ. 1958 ท่านทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเช้าเย็น ส่งเสริมปลุกปั้นพัฒนานักแบดมินตันไทยหลายคน อาทิ พินิจ ปัตตพงศ์ ประเทือง ปัตตพงศ์ อัจฉรา ปัตตพงศ์ ธนู ขจัดภัย เจริญ วรรธนะสิน บุบผา แก่นทอง สงบ รัตนุสสรณ์ บัณฑิต ใจ
เย็น ศิลา อุเลา ฯลฯ นักกีฬาเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น นักแบดมินตันหลายคนของท่านได้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันออล-อิงแลนด์และครองตำแหน่งตำแหน่งชนะเลิศของโลกในการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติจากหลายประเทศ เมื่อหลวงธรรมนูญวุฒิกร ถึงแก่อนิจกรรม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวงการแบดมินตันของไทย

ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระราชวงศ์จักรีชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ได้พระราชทานและประทานพระอุปถัมภ์แก่กีฬาแบดมินตันอย่างเข้มแข็ง ในหลวงทรงเป็นองค์อุปถัมภกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นและทรงแบดมินตันด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา(พระราชศักดิ์ในสมัยนั้น)ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมิน
ตันไทยไปแข่งขัน ออล-อิงแลนด์ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501

และที่ต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์สำคัญไม่เฉพาะแต่วงการแบดมินตันเท่านั้น แต่เป็นของวงการกีฬาเมืองไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระทานราชทุนการศึกษาส่วนพระองค์ให้แก่นักแบดมินตันทีมชาติไทย เจริญ วรรธนะสิน ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ยังความปลาบปลื้มของวงการกีฬาไทยอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะในยุคนั้นยังไม่มีหน่วยงานกีฬาของรัฐ
ในปีต่อ ๆ มา พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงสนับสนุนทุนทรัพย์ส่งนักแบดมินตันไทยไปแข่งขันออล-อิงแลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป พร้อมทั้งทรงประทานกำลังใจด้วยการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทั้งในเอเชียและยุโรป ท่านพระองค์หญิงยังทรงสร้างสนามมาตรฐานขึ้นและก่อตั้งสโมสรแบดมินตันแร็กเก็ตมิวเซียมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510
วงการแบดมินตันไทยได้พัฒนาตัวเองจนเป็นสมาคมกีฬาชั้นนำสมาคมหนึ่งของประเทศไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ส่งนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศมากที่สุดอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 วงการแบดมินตันเริ่มใช้แนวทางการตลาดสิทธิประโยชน์เข้ามาบริหาร เริ่มระบบการดึงผู้อุปถัมภ์รายการจากต่างประเทศเข้ามาแทนระบบบริจาคช่วยเหลือ เริ่มต้นจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เซอร์โลกที่มีเงินรางวัลนับล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นการพลิกโฉมวงการแบดมินตันไทยให้ก้าวทันการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของโลก
กิจกรรมของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินมาไกลถึงเพียงนี้ไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาสปอนเซอร์ต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น โปร-เคนเน็ก โกเซ็น NEC ESPN ยูนิแคล และบริษัทห้างร้านภายในประเทศ เช่น ไทยออยล์ เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง มิตซูบิชิ และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนของชาติ ได้ให้การ
สนับสนุนการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันยังคงให้การอุปถัมภ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนแบดมินตันประเทศไทย และแบดมินตันกรังด์ปรีซ์เซอร์กิตโลก และโครงการ “ไฟแห่งพุ่มไม้เขียว” จากปี ค.ศ. 2004-2008
กีฬาแบดมินตันได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ในปี ค.ศ. 1980 ที่เมืองมิวนิค เยอรมนี แต่ไม่ได้รับการบรรจุในทันที เนื่องจากเกิดการแตกแยกในวงการแบดมินตันของโลก จนกระทั่งได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการในบาร์เซโลนาเกมส์ที่สเปนถึงปี ค.ศ. 1992 แบดมิน
ตันได้กลายเป็นกีฬาโอลิมปิคเต็มตัวตั้งแต่นั้นมา และนักแบดมินตันไทยได้ผ่านรอบควอลิฟายคัดเลือกเข้าสู่สายใหญ่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทุกครั้ง ล่าสุดที่การแข่งขันครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ นักแบดฯ ไทยได้เข้ารอบมากถึง 8 คน ครบทุกประเภทเป็นประวัติการณ์ และบุญศักดิ์ พลสนะ ได้เข้าถึงรอบชิงรองชนะเลิศเซมิไฟแนลของประเภทชายเดี่ยว

วงการแบดมินตันไทยยังจะพัฒนาไปข้างหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง ตราบใดที่คนบริหารไม่นำพากีฬาแบดมินตันกลายเป็นเกมการเมือง มือสะอาด ไม่เข้ามาหาผลประโยชน์จากวงการ มีจิตวิญญาณที่รักและเห็นประโยชน์ของวงการแบดมินตันเป็นเป้าหมายสูงสุด ถ้าทำอย่างนี้ได้ ความเชื่อถือ ศรัทธา จากผู้ให้ความอุปถัมภ์ ก็จะไม่จืดจางถอยห่างจากวงการแบดมินตันอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น