จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬาเพาะกาย


ประวัติกีฬาเพาะกาย
กีฬาเพาะกายกำเนิดเกิดขึ้นมานานแล้วประมาณ 300 กว่าปี โดยได้รับอิทธิพลจากคนโบราณที่มักจะอวดรูปร่างอันเต็มไปด้วยมัดกล้ามจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ที่ผ่านการทดลองจนมีผลการวิจัยและมีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์เรื่องกล้ามเนื้อของกีฬาเพาะกาย กระทั่งได้รับการยอมรับจัดตั้งสมาคม ไอเอฟบีบี ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นเริ่มจัดประกวดชายงามที่เล่นกีฬาเพาะกาย ในปี พ.ศ. 2513 นับว่ากระแสความแรงของเพาะกายโด่งดังไปทั่วโลก เมื่อชายงามที่เข้าประกวดเพาะกาย เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็น superstar อาทิ อาร์โนลด์ ชวาลสเน็กเกอร์ , ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน หลังจากนั้นถือเป็นมาตรฐานของฮอลลีวู้ด กำหนดไว้ว่าดาราที่มาจากการประกวดชายงามจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
เคล็ดลับกีฬาเพาะกาย
กีฬาเพาะกายมีท่าบริหารกล้ามเนื้อมากมายหลายรูปแบบให้เลือกหากต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ควรเลือก ท่าบริหารที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อนั้นๆ คือ ถ้าต้องการปรับกล้ามเนื้อบริเวณท้องด้านบน ควรเลือกท่าบริหารหน้าท้องส่วนบนและส่วนกลาง เช่น
ท่า CRUNCH
1.นอนหงาย ประสานมือสอดท้ายทอย หรือการกอดอกแทนก็ได้
2. ตอนอยู่ในจังหวะที่ 2 ให้เกร็งหน้าท้อง ไว้ประมาณ 4 วินาที
3. จากจังหวะ 1 ไปจังหวะ 2 หายใจออก
ขาควรพาดไว้บนอุปกรณ์ระดับเข่าและส่วนขาไม่ควรเคลื่อนไหว

เมื่อตั้งใจจะเล่นกีฬาเพาะกายให้ได้ผลดี อย่าลืมเคล็ดลับที่สำคัญที่สุดคือ
1. ก่อนการเล่นเพาะกายต้อง วอร์มอัพอบอุ่นร่างกาย กระตุ้นกล้ามเนื้อ เป็นเวลาประมาณ 30 - 40 นาที
2. เข้าสู่การเล่นเพาะกาย
3. สิ้นสุดการเล่นด้วยการคลายกล้ามเนื้อ 10 - 15 นาที 
ข้อควรระวังเล่นเพาะกาย
อาการบาดเจ็บจากการเล่นเพาะกายจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ยังมีความผิดพลาดจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ต้องการรับประทานโปรตีน จึงเลือกรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป เมื่ออายุของนักเพาะกายมากขึ้นอาจได้รับการสะสมของกรดยูริค ส่งผลให้เป็นจุดเริ่มต้นของโรคเก๊าท์
ประโยชน์จากเพาะกาย
จากรายงานของ NATIONAL INSTITUTION OF HEALTH - AMERICA " ระบุว่ากีฬาเล่นกล้าม หรือเพาะกายเป็นกีฬา ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจมากเช่นเดียวกับวิ่งจ๊อกกิง มวยปล้ำ " แต่ข้อเด่นของกีฬาเพาะกายเองก็มีมากกลายเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ทำให้กีฬาเพาะกายยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มชายชาตรีเสมอมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น