จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติกีฬาซอฟท์เทนนิส


ประวัติกีฬาซอฟท์เทนนิส

          กีฬาซอฟท์เทนนิส เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2413 ในประเทศญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจากกีฬาเทนนิสซึ่งชาวยุโรปริเริ่มขึ้น ซอฟท์เทนนิสเป็นกีฬาที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเล่นกันมาก และต่อมาได้แพร่หลายในหลายประเทศทั้งในประเทศเกาหลี ไต้หวัน อเมริกา บราซิล ฟิลิปปินส์ แซร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เป็นต้น การแข่งขันซอฟท์เทนนิสชิงแชมป์โลกเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 และได้จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกสองปี พ.ศ. 2529 มีการก่อตั้งสหพันธ์ซอฟท์เทนนิสแห่งเอเชียขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเผยแพร่กีฬาซอฟท์เทนนิสให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
          กีฬาซอฟท์เทนนิสคล้ายกับเทนนิส แต่จะใช้ลูกบอลยางเนื้อนุ่มและแร็กเกตที่เบากว่า ทำให้ผู้เล่นสามารถตีลูกได้อย่างสบายๆ มักนิยมเล่นคู่มากกว่าเล่นเดี่ยว การเล่นจะต้องอาศัยทั้งทักษะของผู้เล่น พละกำลังที่แข็งแรง สมาธิ และความร่วมมือของคู่เล่น
          สำหรับการแข่งขันมักเป็นประเภทคู่ หรืออาจแข่งประเภททีมจึงจะประกอบด้วยคู่แข่งขันหลายคู่ก็ได้
          ปี พ.ศ.2532  กีฬาซอฟท์เทนนิสเริ่มเข้ามาในประเทศไทย  โดยทางสมาพันธ์ซอฟท์เทนนิสแห่งเอเชียซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานที่ประเทศญี่ปุ่น นำกีฬานี่มาเผยแพร่  โดยผ่านทางคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิคแห่งประเทศไทย  และสำนักงานกีฬาทหารได้ร่วมกันจัดตั้งชมรมซอฟท์เทนนิส  (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสมาคมซอฟท์เทนนิสแห่งประเทศไทย)  เพื่อเป็นองค์กรในการเผยแพร่กีฬาซอฟท์เทนนิสภายในประเทศไทย  โดยมี พ.อ.กุศล  อิศรางกูล ณ อยุธยา  เป็นประธานชมรม พร้อมกันนั้นได้ร่วมมือกับกรมพลศึกษา สาธิตแนะนำ  แจกอุปกรณ์กีฬาซอฟท์เทนนิสแก่วิทยาลัยพลศึกษาต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่กีฬาประเภทนี้    ประธานซอฟท์เทนนิสญี่ปุ่นได้มีหนังสือให้ บริษัทโตชิบา ดิสเพลย์ ประเทศไทยเป็นผู้อำนวยการความสะดวกต่างๆในช่วงที่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของ ประเทศญี่ปุ่นพำนักอยู่ในประเทศไทย
          ทางด้านการพัฒนาฝีมือของนักกีฬาและผู้ที่สนใจในระยะแรกนั้น  ทางชมรมซอฟท์เทนนิสได้จัดใด้มีการแข่งขันชิงแชมป์แห่งประเทศไทย  ซึ่งมีนักกีฬาที่มาจากการฝึกเทนนิสกว่า 30 คน มาร่วมการแข่งขันและทางชมรมยังได้ส่งนักกีฬาไปร่วมการแข่งขันชิงชนะเลิศที่ นาโกยา ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งนับเป็นการเดินทางไปแข่งขันต่างประเทศในนามทีมชาติไทยเป็นครั้งแรกสำ หรับกีฬาซอฟท์เทนนิส เมื่อปี พ.ศ.2532
          ปี พ.ศ. 2533 ทางชมรมได้จัดให้มีการแข่งขันซอฟท์เทนนิสชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ร่วมส่งนักกีฬาแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 11 ซึ่งกีฬาซอฟท์เทนนิสได้บรรจุเข้าในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เป็นครั้งแรก
          ปี พ.ศ. 2534  การแข่งขันซอฟท์เทนนิสแห่งประเทศไทย  ได้งดมาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุ คือการขาดแคลนอุปกรณ์กีฬาซึ่งทางชมรมต้องพึ่งพาจากต่างประเทศทำให้มีไม่มี การขยายจำนวนผู้เล่นและผู้สนใจแต่ทางชมรมได้ร่วมส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน ในรายการชิงแชมป์เอเชียที่ประเทศเกาหลี
          ปี พ.ศ. 2535 ทางชมรมได้ให้ นายเพชร บำรุงชีพ  ผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท โตชิบา ดีสเพลย์  ซึ่งเกี่ยวข้องกับกีฬาซอฟท์เทนนิสในภาคเอกชนมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการชมรม และปลายปีทางชมรมได้ร่วมแข่งขันรายการซอฟท์เทนนิสชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 2 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
          ปี พ.ศ. 2536  ถือได้ว่าเป็นปีที่ประสบผลสำเร็จที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งชมรมมาเนื่องจากทาง ชมรมได้ร่วมแข่งขันในรายการเวิลด์คัพ แชมป์เปี้ยนชิพ ครั้งที่ 10 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและทำให้ต่างชาติยอมรับนักกีฬาซอฟท์ เทนนิส จากประเทศไทย  โดยสามารถคว้าเหรียญทองแดง ได้อันดับที่ 3 จากประเภทหญิงเดี่ยว ประเภทคู่หญิง ได้อันดับที่ 5 ประเภทชายเดี่ยว ได้อันดับที่  5 ส่วนประเภทชายคู่ ชนะเลิศ ในกลุ่มคอนโซลเรชั่น(กลุ่มผู้แพ้) โดยในการแข่งขันครั้งนี้มีจำนวนชาติทั้งหมด 19 ชาติ ทั่วโลก
          ปี พ.ศ. 2537  ทางชมรมได้จดทะเบียนเป็นสมาคมใช้ชื่อว่า สมาคมซอฟท์เทนนิส เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2537  โดยนายเพชร  บำรุงชีพ  เป็นนายกสมาคมคนแรกและได้ร่วมแข่งขันในรายการบางกอกอินวิเตชั่น และสิงคโปร์ โอเพ่น  เพื่อเตรียมทีมนักกีฬาในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และเข้าร่วมแข่งขันกีฬา เอเชี่ยนเกมส์  ครั้งที่ 12 ที่เมืองฮิโรชิมา  ประเทศญี่ปุ่น   ผลการแข่งขันประเภทชายคู่  ได้อันดับที่ 5 และประเภทหญิงคู่ ได้อับดับที่ 7
          ปี พ.ศ. 2538  เนื่องจากนักกีฬาเก่าที่ทางสมาคมมีอยู่เริ่มมีอายุมากขึ้น  ดังนั้น ทางสมาคมจึงมีโครงการเตรียมทีมนักกีฬาเยาวชน  โดยคัดเลือกจากนักกีฬาเทนนิส หรือผู้ที่สนใจที่มีอายุน้อยมาทำการฝึกซ้อม  สมาคมได้ร่วมกับสมาพันธ์ซอฟท์เทนนิสแห่งเอเชีย  และกรมพลศึกษา  จัดอบรมผู้ฝึกสอนนักกีฬาซอฟท์เทนนิส  โดยเชิญอาจารย์จากวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ ผู้ที่สนใจเข้าอบรม  เพื่อเพิ่มความรู้และเผยแพร่กีฬาซอฟท์เทนนิสให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
          ปี พ.ศ. 2539  สมาคมได้ดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารตามวาระเป็นครั้งแรก  โดย ดร.จักรชัย อุ่นใจ  ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมและในปีเดียวกันสมาคมซอฟท์เทนนิสได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพร่วมกับ  การกีฬาแห่งประเทศไทยได้จัดการแข่งขันซอฟท์เทนนิสชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย  ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่  2 – 8 พฤศจิกายน 2539  ที่สนามกีฬาหัวหมาก  มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 18 ประเทศ  ผลการแข่งขันเป็นดังนี้  ประเภทชายเดี่ยว ได้อันดับที่ 2 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภทหญิงเดี่ยว ได้อันดับที่ 3 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภทชายคู่ได้อันดับที่ 4 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภทหญิงคู่ได้อันดับที่ 3 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภททีมชายได้อันดับที่ 2 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภททีมหญิงได้อันดับที่ 3 (กลุ่มผู้แพ้)
          ปี พ.ศ. 2540 ดร.จักรชัย อุ่นใจ ลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมและสมาคมได้จัดประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการ บริหารชุดใหม่  เมื่อเดือนเมษายน 2540 ซึ่งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย
          นายกำธร     อินทรพิชัย นายกสมาคม
          นายพิพัฒน์   ตั้งอิทิพลากร อุปนายก
          นายคงศักดิ์  เจริญรักษ์  อุปนายก
          นายชัยวิทย์  จิตเมตตา อุปนายก
          นายวินัย      ศุภพิพัฒน์ เลขาธิการ
          นางเฉลียวศรี ฉิมวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ
          นางนราภรณ์ โรจนสกุล เหรัญญิก
          นายประเสริฐ ศรีสืบ วิเทศสัมพันธ์
          นายปราชญ์ ไชยคำ ประชาสัมพันธ์
          นายเดชา เศวตศิโรรัตน์ นายทะเบียน
          นางสาวจันทร พิมพ์สกุล ปฏิคม
          นายสุเมธ มุกดาพิทักษ์ กรรมการ
          นายพัฒนาเศรษฐ์ จังคศิริ กรรมการ
          นายเฉลิมชัย บุญรักษ์ กรรมการ
        ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการชุดปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงข้อบังคับ สมาคม และย้ายที่ตั้งสำนักงานสมาคมที่การกีฬาแห่งประเทศไทย  สนามกีฬาหัวหมาก ทั้งนี้   เพื่อให้การบริหารกีฬาสอดคล้องรองรับกับพระราชบัญญัติการกีฬาฯ และเอื้อต่อการปฏิบัติในการส่งเสริมพัฒนากีฬาซอฟท์เทนนิสทั้งส่วนกลางและ ภูมิภาค  ในช่วงที่ผ่านมาสมาคมได้ส่งทีมนักกีฬาชายร่วมการแข่งขันที่ประเทศไต้หวัน  ในรายการ  CHINESS TAYPE SOFT TENIS CHAMPIONSHIP 1997 เมื่อเดือนมิถุนายน  ผลการแข่งขันศึกษาดูงานการจัดการแข่งขัน ที่ประเทศญี่ปุ่น  ในรายการ INTER CITY TOURANAMENT ALL JAPAN 1998 เมื่อเดือนเมษายน  นอกจากนั้นสมาคมได้จัดการอบรมผู้ฝึกสอน  ผู้ตัดสิน และจัดการแข่งขันซอฟท์เทนนิสพัฒนาฝีมือประจำเดือน  ตลอดปีเพื่อเตรียมการบุคลากรและนักกีฬาร่วมการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์  ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปลายปี 2541  ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักมาก เนื่องจากในรอบปีแรกสมาคมไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดีสมาคมได้พยายามจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเผยแพร่  และพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาซอฟท์เทนนิสอยู่ตลอดเวลา
ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
http://www.sat.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น